เจดีย์บุญ...เจดีย์บาป...


เจดีย์พุทธคยา


เจดีย์บุญ
การสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หรืออัฐิธาตุของบุคคลที่ควรบูชาได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ และพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นการสร้างมงคลอย่างสูงสุด เมื่อตายไปย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์ ย่อมได้ดวงตาเห็นธรรม และบรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย การมีส่วนร่วมสร้างพระเจดีย์จะมากหรือน้อย ถ้าทำด้วยความศรัทธาเลื่อมใส ก็ย่อมได้อานิสงค์มากมาย สุดที่จะพรรณา


เจดีย์(ไม่)บาปแต่ใครจะได้บาป
แต่ ถ้าการสร้างเจดีย์นั้นสร้างขึ้นบนที่ดินที่บุกรุกโดยมิชอบ คือสร้างทับทางสาธารณะประโยชน์ที่ชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางคมนาคมตั้งแต่สมัยโบ ร่ำโบราณ จนเกิดความเดือดร้อนเพราะไม่มีถนนที่ใช้เดินทางดังเดิม และได้เกิดกรณีพิพาท จนถึงขั้นฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาล จนคดีความถึงที่สุดชั้นศาลฎีกา เมื่อปี๒๕๔๐ ศาลฏีกาพิพากษาว่าให้จำเลยเปิดทางสาธารณะเพราะบุกรุกและปิดทางสาธารณะจริง ซึ่งในปัจจุบันทางสาธารณะตามคำพิพากษาของศาล ยังไม่มีการเปิดทางสาธารณะแต่อย่างใด แต่กลับเพิกเฉยและก็ยังดื้อแพ่ง (ศาลฏีกาพิพากษาปี๒๕๔๐ปัจจุบันปี๒๕๕๖)จนเจ้าหน้าที่บังคับคดีมาทำการปิด ประกาศและรื้อถอน แต่กลับถูกฟ้องร้อง ขึ้นศาล ซึ่งเป็นอีกคดีหนึ่ง ว่าบุกรุกและทำลายทรัพย์สิน จนคดีถึงชั้นศาลอุทธรณ์ ศาลจึงได้สั่งยกฟ้อง
ใน ปัจุบันนี้ก็ยังสร้างเจดีย์ดังกล่าวกันต่อไป จึงมีคำถามต่างๆเกิดขึ้นมากมายว่า

“คนไหว้ คนสร้างใครจะได้บุญ ใครจะได้บาป”



ภาพกำลังก่อสร้างเจดีย์


แผนที่จากสำเนาโฉนดที่ดิน มีเส้นทางสาธารณะประโยชน์



ภาพถ่ายทางอากาศจากดาวเทียม มีถนนที่เป็นเส้นทางสาธารณะอยู่


น.ส.๓ แปลงที่ติดกับทางสาธารณะประโยชน์











โฉนดที่ดินฉบับใหม่ ออกให้โดยสำนักงานที่ดินจังหวัดราชบุรี


"ไม่ รู้ว่าทำไปได้อย่างไร ? เมื่อที่ดินเดิมแต่ละแปลงมีทางสาธารณะคั่นกลางอยู่ แต่สำนักงานที่ดิน ออกโฉนดทับทางสาธารณะได้อย่างไร? ใครทราบช่วยบอกมาให้ทราบด้วยครับ?"
หรือว่าท่านอธิบดีกรมที่ดินจะสนใจตอบคำถามนี้ให้ประชาชนทั่วไปหายสงสัย


ประวัติวัดถ้ำสิงโตทอง


                                                ซุ้มประตูทางเข้าวัดติดถนนใหญ่


                                                  ซุ้มประตูทางเข้าวัด



ความเป็นมา
เมื่อปีพ.ศ.๒๕๐๙ พระมานิตย์ได้พบกับหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯและได้ชักชวนหลวงปู่โต๊ะมายังถ้ำสิงโตทอง หลวงปู่เล็งเห็นว่าสถานที่นี้สงบเงียบเหมาะสำหรับเป็นที่ปฏิบัติธรรม จนกระทั่งมีลูกศิษย์รวบรวมทุนทรัพย์ซื้อที่ดินถวายและก่อสร้างวัดถ้ำสิงโตทองแห่งนี้
โดยใช้ชื่อว่า “ที่พักสงฆ์ถ้ำสิงโตทอง”  เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม
ต่อมาได้ดำเนินการขอ อนุญาตต่อกรมการศาสนา และได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างวัด  เมื่อวันที่  ๓๐  พฤศจิกายน  ๒๕๒๑  โดยนายวิรัช  วงศาโรจน์  เป็น ผู้ขออนุญาตตั้งวัดต่อกรมศาสนา  ได้รับการประกาศตั้งวัดเมื่อวันที่  ๒  พฤษภาคม  ๒๕๒๗  โดยใช้ชื่อว่า  “วัดเขาถ้ำสิงโต”  ต่อมาทางวัดได้ขอเปลี่ยนชื่อวัดเป็นชื่อ  “วัดถ้ำสิงโตทอง”  ตามเดิม



                                                         พระอุโบสถ


ในปี  พ.ศ. ๒๕๓๓  ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ   ท่านผู้หญิงมณฑินี  มงคลนาวิน ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถ  เป็นอุโบสถที่สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติ  สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ครบ ๖๐ พรรษา  (พ.ศ.๒๕๓๕)  เป็นสถาปัตยกรรม  พระราชนิยมสมัยรัชกาลที่ ๓  เน้นความเรียบง่ายแต่แข็งแรง  สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก  ภายในกรุด้วยไม้สัก  เพื่อให้สะดวกแก่การดูแลรักษา  โดยดัดแปลงจากแบบเดิมของหลวงปู่โต๊ะ  ที่ท่านตั้งใจจะสร้างอุโบสถด้วยไม้ทั้งหลัง  โดยให้เหตุผลว่า  “จะสร้างให้คนรุ่นหลังดู  ต่อไปจะหาไม้สร้างได้ยาก”   ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ   ท่านผู้หญิงมณฑินี   มงคลนาวิน   เป็นประธานดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ  ด้วยงบประมาณ  ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท  (ยี่สิบล้านบาทถ้วน)  โดยถือคติว่าไม่เบียดเบียนใคร   และได้สร้าง พระพุทธปฎิมา พระประธาน  ในพระอุโบสถ  ได้รับพระราชทานนามว่า  “พระพุทธสิริกิติพิพัฒน์”   มีความหมายว่า  “พระพุทธเจ้าซึ่งทรงไว้ด้วย  สิริ  และ เกียรติ”  ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นประธานเททอง  เมื่อวันเสาร์ที่  ๙  มีนาคม  ๒๕๓๕  ตรงกับวันแรม ๙ ค่ำ  เดือน ๔  ณ  วัดบวรนิเวศวิหาร  ขนาดหน้าตักกว้าง  ๒.๙๙ เมตร  ฝีมือการออกแบบของ คุณไข่มุกด์  ชูโต  ปฏิมากรแห่งราชสำนักฯ



                                                         พระประธาน


สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธย “ส.ก.”  ประดิษฐานที่หน้าบันพระอุโบสถ  โดยมีพระราชกระแสรับสั่งว่า

“เป็นอุโบสถหลังแรกที่มีนามาภิไธย  ของพระองค์ท่านประดิษฐานอยู่”

รูปหล่อเหมือนหลวงปู่โต๊ะ  สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเททอง  เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓๐  เมษายน  ๒๕๓๕  ตรงกับวันแรม  ๑๓ ค่ำ  เดือน ๕  ณ  วัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราช  ได้ทรงพระกรุณาชี้แนวเขตตั้งอุโบสถหลังนี้ด้วยพระองค์เอง  และทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์
ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ  ท่านผู้หญิงมณฑินี  มงคลนาวิน  เป็นประธานฝ่ายฆราวาส
นับเป็นมหามงคลยิ่งแก่วัดถ้ำสิงโตทอง  อันเนื่องมาจาก พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว  และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ  เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระเศียรองค์พระ ประธาน พระพุทธสิริกิติพิพัฒน์  ทรงยกฉัตร  ทรงตัดลูกนิมิต  และทรงปลูกต้นสักทองบริเวณหน้าพระอุโบสถ  เมื่อวันที่  ๒๘  สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๕
มีหมู่กุฎิทรงไทย  จำนวน ๓  หลัง  ซึ่งยกมาจากวัดประดู่ฉิมพลี ฝากุฎิทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกปะกบกัน  หลังคามุงจากใช้สลักไม้ยึดทั้งหลังไม่ใช้ตะปู  เพื่ออนุรักษ์ฝีมือช่างไทยโบราณ




เจดีย์บรรจุอัฐธาตุหลวงปู่โต๊ะ


นอกจากนี้  ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ   ท่านผู้หญิงมณฑินี  มงคลนาวิน  ยังได้สร้างเจดีย์แปดเหลี่ยม  เพื่อประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่โต๊ะ  และปรับปรุงบริเวณรอบเจดีย์  สระน้ำ  ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ  หญ้า  เพื่อให้ดูสวยงาม  งบประมาณ  ๑๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สิบห้าล้านบาทถ้วน)
ในปี พ.ศ.๒๕๓๖  สร้างอาคารสำนักงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม  วัดถ้ำสิงโตทอง  สร้างห้องพักสามเณร  จำนวน  ๒๐  ห้อง  ศาลาเอนกประสงค์  งบประมาณ  ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท  (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน) 


บึงบัวและสวนหย่อมข้างเจดีย์



                                            หุ่นขี้ผึ้งและอัฐธาตุหลวงปู่โต๊ะ


                                                          ถ้ำสิงโตทอง


                                                    สิงโตศักดิ์สิทธิ์ภายในถ้ำ



                                          บริเวณหน้าถ้ำแก้วและกุฏิหลวงปู่โต๊ะ


                                              พระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม


                                                     ป้ายบอกสถานที่


                                                  บันไดทางขึ้นเขา



                                                    พระสังกัจจายนะ


                                                   บันไดทางขึ้นบนยอดเขา
     

                                                  ทางเดินลงเขาอีกด้านหนึ่ง


                                                     ระฆังบนยอดเขา


                                           ศาลท้าวมหาพรหมบนยอกเขา


                                                ชมทิวทัศน์บนยอดเขา
                                                 บันไดทางลงเขา


                                                ถ้ำพระพุทธบาท



                                                รอยพระพุทธบาทจำลอง


                                                       ถ้ำพญานาค


                                              ศูนย์จำหน่ายให้เช่าวัตถุมงคล


                                                    ศาลาพระแม่ธรณี


                                                  หอสมุดมงคลนาวิน


                                            พระประธานภายในหอสมุด


                                        รูปหล่อเหมือนหลวงปู่โต๊ะ ภายในหอสมุด


                                                   อีกมุมหนึ่งภายในหอสมุด


                                                     ภายในหอสมุด

                                                       ศาลามงคลนาวิน


                                                            ศาลา๑๐๘




ในปี  ๒๕๕๒  เนื่องในโอกาสครบอายุ  ๗๕ ปี  ได้สร้างหอสมุด  “ศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ  ท่านผู้หญิงมณฑินี  มงคลนาวิน”  และบูรณะซ่อมแซมทาสีอุโบสถ  เจดีย์  ซุ้มประตูกำแพงวัด  สร้างต่อเติมอาคารเรียนหลังใหม่ จำนวน  ๖ ห้อง สิ้นงบประมาณ  ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าล้านบาทถ้วน)
การที่วัดถ้ำสิงโตทอง  มีพระอุโบสถ  เสนาสนะ  อาคารเรียน  หอสมุด  ที่สวยงามมั่นคงดังปรากฏในปัจจุบัน  เพราะได้รับความอุปถัมภ์จากท่านศาสตราจารย์ ดร.อุกฤษ  ท่านผู้หญิงมณฑินี  มงคลนาวิน  เป็นอย่างดี
อาตมภาพในนามคณะศิษยานุศิษย์หลวงปู่โต๊ะ  และในฐานะเจ้าอาวาส วัดถ้ำสิงโตทอง ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาที่ท่านได้ให้การอุปถัมภ์วัดถ้ำสิงโตทอง และโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดถ้ำสิงโตทอง  ตั้งแต่ปี  พ.ศ.๒๕๓๓  มาจนถึงปัจจุบัน  ขออ้างอิงถึงอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย  และบารมีธรรมของพระเดชพระคุณหลวงปู่โต๊ะ  จงมารวมกันเป็นตบะ  เดชะ  พลวปัจจัย  ให้ท่านศาสตราจารย์  ดร.อุกฤษ  ท่านผู้หญิงมณฑินี  มงคลนาวิน  และครอบครัวประสบความสุขความเจริญ  ด้วยจตุรพิธพรชัย ๔ ประการ  คือ  อายุ  วรรณะ  สุข  พละ  ปฏิภาณ  ธนสารสมบัติทุกประการเทอญ

                                       (พระครูภาวนาโชติคุณ   ชุตินฺธโร)
                                            เจ้าอาวาสวัดถ้ำสิงโตทอง
                                              

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น