เจดีย์บุญ...เจดีย์บาป...


เจดีย์พุทธคยา


เจดีย์บุญ
การสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หรืออัฐิธาตุของบุคคลที่ควรบูชาได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ และพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นการสร้างมงคลอย่างสูงสุด เมื่อตายไปย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์ ย่อมได้ดวงตาเห็นธรรม และบรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย การมีส่วนร่วมสร้างพระเจดีย์จะมากหรือน้อย ถ้าทำด้วยความศรัทธาเลื่อมใส ก็ย่อมได้อานิสงค์มากมาย สุดที่จะพรรณา


เจดีย์(ไม่)บาปแต่ใครจะได้บาป
แต่ ถ้าการสร้างเจดีย์นั้นสร้างขึ้นบนที่ดินที่บุกรุกโดยมิชอบ คือสร้างทับทางสาธารณะประโยชน์ที่ชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางคมนาคมตั้งแต่สมัยโบ ร่ำโบราณ จนเกิดความเดือดร้อนเพราะไม่มีถนนที่ใช้เดินทางดังเดิม และได้เกิดกรณีพิพาท จนถึงขั้นฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาล จนคดีความถึงที่สุดชั้นศาลฎีกา เมื่อปี๒๕๔๐ ศาลฏีกาพิพากษาว่าให้จำเลยเปิดทางสาธารณะเพราะบุกรุกและปิดทางสาธารณะจริง ซึ่งในปัจจุบันทางสาธารณะตามคำพิพากษาของศาล ยังไม่มีการเปิดทางสาธารณะแต่อย่างใด แต่กลับเพิกเฉยและก็ยังดื้อแพ่ง (ศาลฏีกาพิพากษาปี๒๕๔๐ปัจจุบันปี๒๕๕๖)จนเจ้าหน้าที่บังคับคดีมาทำการปิด ประกาศและรื้อถอน แต่กลับถูกฟ้องร้อง ขึ้นศาล ซึ่งเป็นอีกคดีหนึ่ง ว่าบุกรุกและทำลายทรัพย์สิน จนคดีถึงชั้นศาลอุทธรณ์ ศาลจึงได้สั่งยกฟ้อง
ใน ปัจุบันนี้ก็ยังสร้างเจดีย์ดังกล่าวกันต่อไป จึงมีคำถามต่างๆเกิดขึ้นมากมายว่า

“คนไหว้ คนสร้างใครจะได้บุญ ใครจะได้บาป”



ภาพกำลังก่อสร้างเจดีย์


แผนที่จากสำเนาโฉนดที่ดิน มีเส้นทางสาธารณะประโยชน์



ภาพถ่ายทางอากาศจากดาวเทียม มีถนนที่เป็นเส้นทางสาธารณะอยู่


น.ส.๓ แปลงที่ติดกับทางสาธารณะประโยชน์











โฉนดที่ดินฉบับใหม่ ออกให้โดยสำนักงานที่ดินจังหวัดราชบุรี


"ไม่ รู้ว่าทำไปได้อย่างไร ? เมื่อที่ดินเดิมแต่ละแปลงมีทางสาธารณะคั่นกลางอยู่ แต่สำนักงานที่ดิน ออกโฉนดทับทางสาธารณะได้อย่างไร? ใครทราบช่วยบอกมาให้ทราบด้วยครับ?"
หรือว่าท่านอธิบดีกรมที่ดินจะสนใจตอบคำถามนี้ให้ประชาชนทั่วไปหายสงสัย


เมื่อหลวงปู่โต๊ะพบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต



          พระอาจารย์มั่นกับอาตมาคุ้นเคยกัน แต่อาตมายังเป็นพระหนุ่มๆอยู่ อาตมาได้บอกเจ้าคุณอุบาลี วัดบรมนิวาสว่า เมื่อหลวงพ่อองค์นี้ลงมา ช่วยบอกผมด้วยนะครับ ผมจะมาฟังธรรมะธัมโมของท่าน ท่านก็รับ เพราะท่านเป็นญาติกัน แล้วก็สั่งสมภารองค์ใหม่นี้ไว้ด้วย จะเป็นประโยชน์ เมื่อได้พบกับท่านแล้ว พอเราเข้าไปกราบเท่านั้น เย็นใจคอเย็น ทานโทษ เหมือนยังกับเข้าไปอยู่ในร่ม อากัปกิริยาเหมือนยังกะเราเข้าไปอยู่ในร่ม เย็น เย็นหู เย็นตา เย็นใจ ทั้งตัวเย็น เย็นไปหมด เพราะอะไร?

การปฎิบัติสมถะกรรมฐาน มีอะไรเป็นหลัก?
ท่านก็ตอบว่ากรรมฐาน๔๐น่ะแหละ เลือกเอาตามพอใจ เท่านั้นเอง
เลือกเอาตามพอใจ ก็หลายอย่าง
ท่านก็แนะว่า ทำตามจริตของเราที่เข้าใจ ถ้าคนที่มีโทสะจริต ก็เจริญพุทโธก็ได้ ท่านว่างั้น และอาตมาก็ว่า พุทโธ ต้องประกอบกับลมด้วย ขอรับ
ท่านก็ว่า ต้องประกอบซี กรรมฐานน่ะ อานาปานะ เป็นยอดของกรรมฐานนะคุณนะ อย่าปลดปล่อยนา

"ครับ ไม่ปล่อย" จะต้องทำยังไงขอรับ ถึงจะรู้ลมเข้าลมออก?

"ก็ตามรู้ลมเข้าลมออก" ปัญญาเกิด

เมื่อภาวนาพุทโธ พุทโธแล้ว พุทโธหายไป เราจะทำไง? ไม่มีหรอกพุทโธ ไม่ได้บริกรรมไม่มีอะไร ไม่มีเลยท่านว่า นั่นแหละลมละเอียดแล้ว ลมละเอียดแล้ว

ลมละเอียดแล้วจะต้องทำอะไรต่อไปอีก?
ดูลม ดูลมให้ละเอียด ถ้าละเอียด ละเอียดหนักๆขึ้น เจ้าตัวเองก็ไม่รู้ว่าเราหายใจ นะคุณนะ ไม่รู้ว่าหายใจ หายใจเข้า หายใจยังไง เราไม่รู้เรื่อง
มีการเผลอไหมครับ?
ท่านบอก ไม่เผลอ ต้องมีสติผูกจิตไว้ด้วย ท่านว่างั้น อะไรผ่าน จำ ท่านว่าให้จำ จำไว้ จำไว้
ถ้าหากมีโยก มีโคลง จะทำไงขอรับ มันไปข้างหน้ามั่ง
ท่านว่า ให้เฉย ที่จริงไม่ได้โยก ไม่ได้โคลงหรอก มันเป็นกิริยาของพระอรหันต์ มันเป็นกิริยาของท่าน มันแสดงให้เราเห็น ทีนี้ทำท่าจะเหาะ ฉันจะเหาะได้นา ถ้าทำไปเหาะได้นา ถ้าท่านทำไปเหาะได้นา เราทำไง เราทำท่าจะเหาะนี่ เฉย เฉย เวลานั้นจะสว่างไม่ใช่เล่น สว่างไสวไปหมด ดูข้าง ดูเคียง ดูอะไรๆนั่นเขาเรียกว่าอะไร เขาเรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส อย่าไปหลง อย่าไปหลง เราเรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส ที่สว่างดับวูบ นั่นก็คือธรรมะคือวิปัสสนา นั่นคือวิปัสสนาปิดหมด จะสว่างไสว มันสว่างไสวปลอดภัยทุกอย่าง อย่าไปหลงเข้านะ อย่าไปหลง แต่ก็มีฤทธิ์นะ สว่างนั้นมีฤทธิ์ จะเป็นมดเป็นหมอเป็นอะไรต่ออะไร ทำได้ทั้งนั้น ทำได้
ก็ถามว่า ท่านทิ้งแล้วหรือยังขอรับ สมถะ
ไม่ได้ทิ้งละ ไว้ใช้ในคราวพักผ่อน...พระพุทธเจ้ายังทิ้งไม่ได้นี่คุณ อ่านหนังสือพบไหม ท่านว่างั้น
ก็ว่าพบ อ่านพบ
ทิ้งไม่ได้ มีฤทธิ์ มีเดชมีอะไรหลายๆอย่าง แต่พระตถาคตน่ะไม่แสดง แสดงในสิ่งที่จำเป็น แล้วพระตถาคตยังห้ามสาวกอื่นๆว่า อย่าแสดง ยังห้าม ยังห้าม เลือกแสดง เลือกสิ่งที่จำเป็นละก็ทำได้ ที่จำเป็น เพราะฉะนั้น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง…เอาละ หลักนี่ไม่ใช่หลักของพระพุทธเจ้านา เพราะว่าเขามีมาก่อนพระพุทธเจ้าหลายสิบองค์ มีพระพุทธเจ้าเกิดในโลกโลกก็เห็นว่าหลักของเขาดี ก็ทำ ก่อนพระพุทธเจ้าเขาก็ทำด้วยหลักกรรมฐาน เป็นของโลกๆเขา แต่ก็ได้ประโยชน์ดี สุดเข้าก็เลยรวบรัดตัดความใช้ได้ ให้เห็นเข้าแท้จริงๆ มันก็เบื่อหน่ายได้

หลวงพ่อครับ วันหนึ่งทำกี่ครั้ง?

นับไม่ถ้วน ท่านว่า นี่ฉันก็ทำ ท่านว่า นี่ฉันก็ทำสมถะ กายใจ…จิต จิต…ชอบกล คนเราน่ะ ต้องทำเรื่อยๆ ยืนในพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ นั่งในพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ นอนในพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ เป็นพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ไปหมด นี่ความหลุดพ้นเรียกว่า วิมุติ ครบบริบูรณ์
ความชั่วหามีกับเราไม่ ด้วยอาศัยการปฎิบัติที่เราถือกุญแจลูกนี้ ไขเข้าไปกว่าจะถึงหลัก…นี่คือหลักการรัษาศีลในทายก ทายิกาที่มาประชุมที่นี้ พุทธานุภาเวนะ ธัมมานุภาเวนะ สังฆานุภาเวนะ ขออำนาจพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ แม้ท่านจะนึกปรารถนาสิ่งใดสมความปรารถนา สุขทุกทิพาราตรีกาลนั้น สวัสดี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น