เจดีย์บุญ...เจดีย์บาป...


เจดีย์พุทธคยา


เจดีย์บุญ
การสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หรืออัฐิธาตุของบุคคลที่ควรบูชาได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ และพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นการสร้างมงคลอย่างสูงสุด เมื่อตายไปย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์ ย่อมได้ดวงตาเห็นธรรม และบรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย การมีส่วนร่วมสร้างพระเจดีย์จะมากหรือน้อย ถ้าทำด้วยความศรัทธาเลื่อมใส ก็ย่อมได้อานิสงค์มากมาย สุดที่จะพรรณา


เจดีย์(ไม่)บาปแต่ใครจะได้บาป
แต่ ถ้าการสร้างเจดีย์นั้นสร้างขึ้นบนที่ดินที่บุกรุกโดยมิชอบ คือสร้างทับทางสาธารณะประโยชน์ที่ชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางคมนาคมตั้งแต่สมัยโบ ร่ำโบราณ จนเกิดความเดือดร้อนเพราะไม่มีถนนที่ใช้เดินทางดังเดิม และได้เกิดกรณีพิพาท จนถึงขั้นฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาล จนคดีความถึงที่สุดชั้นศาลฎีกา เมื่อปี๒๕๔๐ ศาลฏีกาพิพากษาว่าให้จำเลยเปิดทางสาธารณะเพราะบุกรุกและปิดทางสาธารณะจริง ซึ่งในปัจจุบันทางสาธารณะตามคำพิพากษาของศาล ยังไม่มีการเปิดทางสาธารณะแต่อย่างใด แต่กลับเพิกเฉยและก็ยังดื้อแพ่ง (ศาลฏีกาพิพากษาปี๒๕๔๐ปัจจุบันปี๒๕๕๖)จนเจ้าหน้าที่บังคับคดีมาทำการปิด ประกาศและรื้อถอน แต่กลับถูกฟ้องร้อง ขึ้นศาล ซึ่งเป็นอีกคดีหนึ่ง ว่าบุกรุกและทำลายทรัพย์สิน จนคดีถึงชั้นศาลอุทธรณ์ ศาลจึงได้สั่งยกฟ้อง
ใน ปัจุบันนี้ก็ยังสร้างเจดีย์ดังกล่าวกันต่อไป จึงมีคำถามต่างๆเกิดขึ้นมากมายว่า

“คนไหว้ คนสร้างใครจะได้บุญ ใครจะได้บาป”



ภาพกำลังก่อสร้างเจดีย์


แผนที่จากสำเนาโฉนดที่ดิน มีเส้นทางสาธารณะประโยชน์



ภาพถ่ายทางอากาศจากดาวเทียม มีถนนที่เป็นเส้นทางสาธารณะอยู่


น.ส.๓ แปลงที่ติดกับทางสาธารณะประโยชน์











โฉนดที่ดินฉบับใหม่ ออกให้โดยสำนักงานที่ดินจังหวัดราชบุรี


"ไม่ รู้ว่าทำไปได้อย่างไร ? เมื่อที่ดินเดิมแต่ละแปลงมีทางสาธารณะคั่นกลางอยู่ แต่สำนักงานที่ดิน ออกโฉนดทับทางสาธารณะได้อย่างไร? ใครทราบช่วยบอกมาให้ทราบด้วยครับ?"
หรือว่าท่านอธิบดีกรมที่ดินจะสนใจตอบคำถามนี้ให้ประชาชนทั่วไปหายสงสัย


พระคาถาแก้วสารพัดนึกหลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ



ท่องนะโม ๓ จบ



นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง

ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส

สะระณังกะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร

โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ

สุมะโน สุมะโน ธีโร เรวะโต ระติวัฑฒะโน

โสภิโต คุณะสัมปันโน อะโนมะทัสสี ชะนุตตุโม

ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วะระ สาระถี

ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฎิปุคคะโล

สุชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ

อัตถะทัสสี การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท

สิทธิธัตโถ อะสะโม โลเก ติสโส จะ วะทะตัง วะโร

ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ วิปัสสี จะ อะนูปะโม

สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู สุขะทายะโก

กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญชะโห

กัสสะโป สิริสัมปันโน โคตะโม สักยะปุงคะโว

พุทโธ สัพพัญญุตะญาโณ มะหาชะนา นุกัมปะโก

ธัมโม โลกุตตะโร วะโร สังโฆ มัคคะผะลัฎโฐ จะ

อินทะสุวัณณะ ปาระมี เถโร อิจเจตัง ระตะนัตตะยัง

เอตัสสะ อานุภาเวนะ สัพพะทุกขา อุปัททะวา

อันตะรายา จะ นัสสันตุ ปุญญะลาภะ มะหาเตโช

สิทธิกิจจัง สิทธิลาโภ สัพพะ โสตถี ภะวันตุ เม ติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น