เจดีย์บุญ...เจดีย์บาป...


เจดีย์พุทธคยา


เจดีย์บุญ
การสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หรืออัฐิธาตุของบุคคลที่ควรบูชาได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ และพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นการสร้างมงคลอย่างสูงสุด เมื่อตายไปย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์ ย่อมได้ดวงตาเห็นธรรม และบรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย การมีส่วนร่วมสร้างพระเจดีย์จะมากหรือน้อย ถ้าทำด้วยความศรัทธาเลื่อมใส ก็ย่อมได้อานิสงค์มากมาย สุดที่จะพรรณา


เจดีย์(ไม่)บาปแต่ใครจะได้บาป
แต่ ถ้าการสร้างเจดีย์นั้นสร้างขึ้นบนที่ดินที่บุกรุกโดยมิชอบ คือสร้างทับทางสาธารณะประโยชน์ที่ชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางคมนาคมตั้งแต่สมัยโบ ร่ำโบราณ จนเกิดความเดือดร้อนเพราะไม่มีถนนที่ใช้เดินทางดังเดิม และได้เกิดกรณีพิพาท จนถึงขั้นฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาล จนคดีความถึงที่สุดชั้นศาลฎีกา เมื่อปี๒๕๔๐ ศาลฏีกาพิพากษาว่าให้จำเลยเปิดทางสาธารณะเพราะบุกรุกและปิดทางสาธารณะจริง ซึ่งในปัจจุบันทางสาธารณะตามคำพิพากษาของศาล ยังไม่มีการเปิดทางสาธารณะแต่อย่างใด แต่กลับเพิกเฉยและก็ยังดื้อแพ่ง (ศาลฏีกาพิพากษาปี๒๕๔๐ปัจจุบันปี๒๕๕๖)จนเจ้าหน้าที่บังคับคดีมาทำการปิด ประกาศและรื้อถอน แต่กลับถูกฟ้องร้อง ขึ้นศาล ซึ่งเป็นอีกคดีหนึ่ง ว่าบุกรุกและทำลายทรัพย์สิน จนคดีถึงชั้นศาลอุทธรณ์ ศาลจึงได้สั่งยกฟ้อง
ใน ปัจุบันนี้ก็ยังสร้างเจดีย์ดังกล่าวกันต่อไป จึงมีคำถามต่างๆเกิดขึ้นมากมายว่า

“คนไหว้ คนสร้างใครจะได้บุญ ใครจะได้บาป”



ภาพกำลังก่อสร้างเจดีย์


แผนที่จากสำเนาโฉนดที่ดิน มีเส้นทางสาธารณะประโยชน์



ภาพถ่ายทางอากาศจากดาวเทียม มีถนนที่เป็นเส้นทางสาธารณะอยู่


น.ส.๓ แปลงที่ติดกับทางสาธารณะประโยชน์











โฉนดที่ดินฉบับใหม่ ออกให้โดยสำนักงานที่ดินจังหวัดราชบุรี


"ไม่ รู้ว่าทำไปได้อย่างไร ? เมื่อที่ดินเดิมแต่ละแปลงมีทางสาธารณะคั่นกลางอยู่ แต่สำนักงานที่ดิน ออกโฉนดทับทางสาธารณะได้อย่างไร? ใครทราบช่วยบอกมาให้ทราบด้วยครับ?"
หรือว่าท่านอธิบดีกรมที่ดินจะสนใจตอบคำถามนี้ให้ประชาชนทั่วไปหายสงสัย


คำสอนหลวงปู่โต๊ะ

 หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวัณโณ เป็นพระมหาเถระผู้ทรงวัตรปฏิบัติเป็นที่เคารพเลื่อมศรัทธาของผู้คนทั่วทุกภาคของประเทศไทย
เมื่อเอ่ยชื่อท่านส่วนมากจะนึกถึงแต่วัตถุมงคลอันศักสิทธิ์ที่พบเห็นได้บ่อยตามหน้าหนังสือพระเครื่อง
แต่โดยลึกแล้วพระธรรมคำสอนของหลวงปู่ไม่ค่อยมีคนรู้จักหรือมีโอกาสอ่านกัน
ทั้งที่ตลอดชีวิตของหลวงปู่โต๊ะ ได้ใช้ชีวิตเพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรมมาโดยตลอด
ตลอดชีวิตของท่านได้เพียรใช้ธรรมะอบรมสั่งสอนพุทธศาสนิกชนให้พบทางสว่างแห่งชีวิตมาโดยตลอด


การเรียนธรรม

"การเรียนธรรมก็เพื่อตัวของเราเอง เรามาคิดถึงตัวของเรา
ว่าในชั้นปฐมวัยได้ทำอะไรไปบ้าง ศึกษาหาความรู้ไปตามวัยเสียก่อน แต่ว่าเมื่อเข้ามัชฌิมวัยแล้ว
ก็ต้องทำงานเลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัวให้เป็นไป ล่วงเข้าไป ๒ วัย ทางโลกก็ต้องเป็นอย่างนี้
โลกธรรมคิดจากใจ ล่วงเข้าไป ๒ วัย ก็จะต้องเป็นไปตามวัยของมันยังเสียทีเดียว
ยังมีส่วนดีอยู่บ้าง ได้ศึกษา มีความรู้ มีเงินทองข้าวของที่จะช่วยตัวเองดี
ไม่ขัดข้องในการที่จะอยู่เป็นที่พึ่งแก่คนข้างเคียงได้และเราก็เป็นคนมีความรู้ เป็นคนฉลาดรู้เท่าทันโลก
และเราก็มีสมบัติพัศสถานเยอะแยะ เราจะอยู่ไหน ตายแล้วเราจะอยู่ที่ไหน พ่อเราจะอยู่ที่ไหน
แม่เราจะอยู่ที่ไหน ไม่รู้ ก็แหละคนที่เขารู้ก็มี ได้ยินหรือได้ฟังกันมา เราก็มีเหลือวัยเดียว
เรียกว่าปัจฉิมวัย วัยสุดท้ายแล้ว ถ้าเราไม่แก้ตัวในวัยสุดท้ายแล้วก็จะไปแก้ตัวที่ไหนอีก
เรื่องวิชาพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาคืออะไร? 


คำสอนที่มีเหตุผล
คำสอนจากใคร
จากพระสัพพัญญู
พระสัพพัญญูคือใคร?
ของใครก็ของใคร ไม่สิ้นสุด มีอยู่เรื่อยๆไป
จะไปหาที่ไหน?
นั่นไง จากสถานที่ อินเดีย ที่โพธิ์พุทธคยา ช่วยไปหามา
มันเรียกร้องเองนะ  ที่ท่านจะอาศัยนั่นน่ะ รุกขมูล อาศัยโคนไม้ เรียกรุกขมูล เพื่อจะพิจารณา
โต อิ โต
โตอะไร?
ก็คือสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘
นี่ โต สติปัฏฐานโต โต มัคโค


ต่อมาใครเคยเห็นพระพุทธเจ้าไหม ที่พระชนมายุอยู่ครบ ๘๐ แล้ว สาวกทั้งหลายเคยเห็นไหม
มีใครเคยเห็นบ้าง แต่ปู่ย่าตาทวดทั้งหลาย โพชฌงค์ท่านเคยเห็นหรือเปล่า เห็นหรือรู้ไฉน
เกิดมาเรามิได้พบพระผู้นิราศเกี่ยวกับทุกข์เกี่ยวกับสุข พระธรรมเราก็ไม่เคยเห็น เห็นแต่ในสมุด
คือเขียนเอาไว้ พระสงฆ์ยังมีอยู่ พระสงฆ์นี่ซิเป็นหลัก เป็นหลักยืนต่างๆ
ต้องมีแน่พระพุทธเจ้า มีแน่พระธรรมเจ้า พระสงฆ์ที่เคยพบเคยเห็น
เคยเรียนเคยฟังมาจากพระพุทธเจ้า ต้องมีแน่
เหตุใดพระองค์ได้สาวกเอกตั้ง ๘๐ แล้วชั้นเอกนี่ล่ะ ชั้นโทนี่ล่ะ ชั้นตรีนี่ล่ะ มีหลายชั้น
ยิ่งเวลานี้ปรากฏยิ่งๆใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงนิยมบวชกันเรื่อยๆมา บวชกันเรื่อยมาเพื่อรักษาพระพุทธศาสนา
ทีนี้มาถึงวัยกลาง ก็มีอะไรล่ะ
ก็มีสมถะและวิปัสนากัมฐาน เลือกเอา จะเรียนสมถะก็ได้ เราจะวิปัสนาก็ได้ ตามใจ
แต่การเรียนของท่านจะตามใจไม่ได้
ที่มาเรียนอยากได้มนุษยสมบัติ เอ้า เรียนสมถะเรื่อยไปจะได้สมบัติ
หรือท่านไม่ต้องการมนุษยสมบัติ สวรรค์สมบัติ ก็เรียนวิปัสสนาไป ให้ปัญญาเกิด ปัญญาอะไร
ปัญญาที่รู้ว่าอะไรเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
อะไรๆ ก็เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง แล้วก็เป็นทุกข์ แล้วก็เป็นอนัตตา
นี่ของใครที่เป็นตัวเป็นตนนี่ของใคร ของโลก ตัวเขาเองก็เป็นของไม่เที่ยง ตัวเขาเองก็เป็นทุกข์อยู่แล้ว
ตัวเขาเองก็เป็นอนัตตา
ความเป็นสัจจะไม่เที่ยง ความเป็นสัจจะเป็นทุกข์ ความเป็นสัจจะเป็นอนัตตา เคยประสบพบมาแล้ว
อย่าไปหลงสมมุติ อย่าไปหลงสมมุติให้มาก หลงไปเท่าไรห่างจากพระนิพพานเท่านั้น
เท่าที่เราหลงอยู่อย่างนี้ ทำได้ไหม 


เมื่อไม่อยากให้เป็นไปต่างๆ ให้ตรองดู เป็นไปตามความนึกคิด เป็นไปตามภพตามชาติ
ก็ข้อความอันเดียวกัน ดับ เลิก จะไม่มีอีกต่อไปเพื่อไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
เมื่อเราทำอะไรก็เป็นอันทำ ไม่ต้องเกิด ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย
นี่ต้องตามเห็นอย่างนี้ จึงจะพบวิชาเรื่องอนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา ตามสมเด็จพระบรมศาสดา
พระพุทธเจ้าที่ทรงตั้งพระธรรมวินัยยังอยู่ เขานิมนต์ที่ไหน ใกล้ไกล พระองค์เสด็จไปทั้งนั้น
พระพุทธองค์ทรงตั้งเข็มของท่านไว้แล้วว่า ต้องเป็นอย่างนี้
มันจึงจะเป็นอย่างนั้นได้ถูกต้อง" 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น