เจดีย์บุญ...เจดีย์บาป...


เจดีย์พุทธคยา


เจดีย์บุญ
การสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หรืออัฐิธาตุของบุคคลที่ควรบูชาได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ และพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นการสร้างมงคลอย่างสูงสุด เมื่อตายไปย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์ ย่อมได้ดวงตาเห็นธรรม และบรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย การมีส่วนร่วมสร้างพระเจดีย์จะมากหรือน้อย ถ้าทำด้วยความศรัทธาเลื่อมใส ก็ย่อมได้อานิสงค์มากมาย สุดที่จะพรรณา


เจดีย์(ไม่)บาปแต่ใครจะได้บาป
แต่ ถ้าการสร้างเจดีย์นั้นสร้างขึ้นบนที่ดินที่บุกรุกโดยมิชอบ คือสร้างทับทางสาธารณะประโยชน์ที่ชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางคมนาคมตั้งแต่สมัยโบ ร่ำโบราณ จนเกิดความเดือดร้อนเพราะไม่มีถนนที่ใช้เดินทางดังเดิม และได้เกิดกรณีพิพาท จนถึงขั้นฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาล จนคดีความถึงที่สุดชั้นศาลฎีกา เมื่อปี๒๕๔๐ ศาลฏีกาพิพากษาว่าให้จำเลยเปิดทางสาธารณะเพราะบุกรุกและปิดทางสาธารณะจริง ซึ่งในปัจจุบันทางสาธารณะตามคำพิพากษาของศาล ยังไม่มีการเปิดทางสาธารณะแต่อย่างใด แต่กลับเพิกเฉยและก็ยังดื้อแพ่ง (ศาลฏีกาพิพากษาปี๒๕๔๐ปัจจุบันปี๒๕๕๖)จนเจ้าหน้าที่บังคับคดีมาทำการปิด ประกาศและรื้อถอน แต่กลับถูกฟ้องร้อง ขึ้นศาล ซึ่งเป็นอีกคดีหนึ่ง ว่าบุกรุกและทำลายทรัพย์สิน จนคดีถึงชั้นศาลอุทธรณ์ ศาลจึงได้สั่งยกฟ้อง
ใน ปัจุบันนี้ก็ยังสร้างเจดีย์ดังกล่าวกันต่อไป จึงมีคำถามต่างๆเกิดขึ้นมากมายว่า

“คนไหว้ คนสร้างใครจะได้บุญ ใครจะได้บาป”



ภาพกำลังก่อสร้างเจดีย์


แผนที่จากสำเนาโฉนดที่ดิน มีเส้นทางสาธารณะประโยชน์



ภาพถ่ายทางอากาศจากดาวเทียม มีถนนที่เป็นเส้นทางสาธารณะอยู่


น.ส.๓ แปลงที่ติดกับทางสาธารณะประโยชน์











โฉนดที่ดินฉบับใหม่ ออกให้โดยสำนักงานที่ดินจังหวัดราชบุรี


"ไม่ รู้ว่าทำไปได้อย่างไร ? เมื่อที่ดินเดิมแต่ละแปลงมีทางสาธารณะคั่นกลางอยู่ แต่สำนักงานที่ดิน ออกโฉนดทับทางสาธารณะได้อย่างไร? ใครทราบช่วยบอกมาให้ทราบด้วยครับ?"
หรือว่าท่านอธิบดีกรมที่ดินจะสนใจตอบคำถามนี้ให้ประชาชนทั่วไปหายสงสัย


พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถึงหลวงปู่โต๊ะ







      พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงพระราชสังวราภิมณฑ์(หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺณเถร) เจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งถึงแก่มรณภาพลง เมื่อเดือน มีนาคม ๒๕๒๔ และได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทานมาเป็นลำดับนั้น ว่าเป็นพระเถระที่เจริญพร้อมด้วยชนมายุ ด้วยคุณธรรมและความรู้ความสามารถ เป็นรัตตัญญูผู้รู้กาลนาน รอบรู้แตกฉานในกิจพระศาสนาและแบบแผนประเพณี เปี่ยมด้วยเมตตาทิบารมี เป็นที่พึ่งที่เคารพของอเนกศิษยบริวารอย่างแท้จริง เป็นเหตุให้ทรงพระราชศรัทธาเลื่อมใสนับถือยกย่องเป็นอย่างสูงในฐาณครุฐานิยบุคคล

       บัดนี้ ถึงคราวที่จะพระราชทานเพลิงศพเป็นอวสานแห่งพระราชกุศล จึงมีพระราชดำรัสสั่งให้จัดพิมพ์หนังสือขึ้นพระราชทานเป็นอนุสรณ์ตามประเพณีนิยม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้รวบรวมสำเนาพระธรรมเทศนาซึ่งสมเด็จพระสังฆราชและพระเถระแสดงถวายในการบำเพ็ญกุศลในวาระต่างๆ พิมพ์ขึ้นภาคหนึ่ง อีกภาคหนึ่งเป็นเรื่อง "หลวงปู่สอนธรรม" ซึ่งเป็นพระธรรมเทศนาโอวาท ธรรมกถาที่พระราชสังวราภิมณฑ์(หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺณเถร)ได้แสดงไว้ในโอกาสต่างๆ คัดเลือกจากที่บันทึกเสียงไว้ด้วยแถบเสียง โดยพระอริยคุณาภรณ์(นาคินท์) วัดบวรนิเวศวิหารกับนายประเสริฐ มณีประสิทธิ์ ถอดเป็นตัวอักษรและเรียบเรียง

        ทรงพระราชอุทิศแห่งวิทยาทานแด่พระราชสังวราภิมณฑ์(หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺณเถร) ตลอดจนแก่มหาชนทั่วไป ที่จะได้รับไปอ่านเป็นเครื่องชำระจิตปฏิบัติพระพุทธศาสนสุภาษิตในกาลทุกเมื่อ เพื่อให้เกิดความสุขความเจริญในชีวิตยิ่งขึ้นไป



                                                             พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
                                                         วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๔



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น